โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 24 – กัญชาในวัฒนธรรมทันสมัย (3)

เราจะพูดถึง 3 ส่วน โดยเริ่มต้นก่อนในแนว (Spectrum) ที่เป็นคุณประโยชน์ทางการแพทย์ (Clinical) ของผลิตภัณฑ์ที่สัมพันธ์ (Related) กับกัญชา (Cannabis)

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration: FDA) แห่งอเมริกา ได้อนุมัติ CBD (=Cannabidiol) ในรูปแบบของสารละลายกินทางปาก (Oral solution) เพื่อรักษาอาการชัก (Seizure) ที่สัมพันธ์กับกรณีที่พบได้น้อย (Rare case) ของลมบ้าหมูนที่รุนแรง (Severe epilepsy)

มีประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ว่า สารกัญชา (Cannabinoid) ลดกลุ่มอาการเจ็บปวด (Pain symptoms) โดยเฉพาะในทางปาก มีประสิทธิผลในการลดเคมีบำบัด (Chemo-therapy) ที่เหนี่ยวนำ (Induce) อาการคลื่นไส้ (Nausea) และอาเจียน (Vomit) ในเด็กและผู้ใหญ่

ในผู้ใหญ่ที่มีเส้นโลหิตตีบหลายเส้น (Multiple sclerosis) การให้กัญชาทางปากบางตัวช่วยบรรเทาอาการกล้ามเนื้อกระตุก (Muscle spasm) ยังมีประจักษ์หลักฐานว่า สารกัญชา THC (Dronabinol) และ Marijuana ที่ให้ทางปาก อาจช่วยเพิ่มน้ำหนัก และอาจทำให้เจริญอาหาร (Appetite) ในผู้ใหญ่ที่มีเชื้อ HIV (Human immuno-virus)

มีประจักษ์หลักฐานที่มีคุณภาพต่ำ (Low-quality) ของการผ่อนคลายความกังวล (Anxiety) ในการพูดต่อหน้าสาธารณชน (Public speaking) ส่วน THC ในหลอดยา (Capsule) อาจสัมพันธ์กับการลดความรุนแรงของกล้ามเนื้อกระตุกหลายๆ มัดพร้อมๆ กัน (Tic severity) ในผู้ป่วยด้วยโรค TS (= Tourette syndrome)

ในส่วนที่ 2 เราจะพูดถึงการศึกษาที่ไม่พบความแตกต่าง (Indifferent findings) โดยที่ไม่มีประจักษ์หลักฐานทางการแพทย์ที่กัญชาลด (Lessen) ความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ในทางตรงกันข้าม มีประจักษ์หลักฐานของความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นมะเร็งลูกอัณฑะ (Testicular) และไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสรุปผลกระทบของกญชาต่อระบบภูมิคุ้มกัน (Immunity)

ไม่มีการลดแรงดัน (Pressure) ของตาในผู้ป่วยต้อหิน (Glaucoma) ที่บริโภคสารกัญชา และประจักษ์หลักฐานก็ไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนประสิทธิผลของกัญชาทางการแพทย์สำหรับการรักษาโรคพาร์กินสันส์ (Parkinson’s) แม้ว่าจะมีความ สนใจในเรื่อง (Field) นี้ จากการค้นพบในเชิงบวกในการสำรวจที่พบปฏิกิริยาโต้ตอบทางชีววิทยา (Biological interaction) ระหว่างกัญชากับเส้นทาง (Pathway) สมองที่มีผลกระทบต่อผู้ป่วยพาร์กินสัน

การสูดไอระเหย (Inhaled vapor) ของกัญชา ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ San Diego สำหรับการรักษาปวดหัวข้างเดียว (Migraine) แต่ยังไม่มีผลสรุป ในขณะนี้

ในส่วนที่ 3 เราจะพูดถึงส่วนที่เป็นโทษ มีประจักษ์หลักฐานที่แสดงว่า การสูบกัญชา อาจสัมพันธ์กับหัวใจล้ม (Heart attack) ซึ่งสมเหตุผล (Make sense) เนื่องจากกลไกหลัก (Underlying mechanism) ของการเผาไหม้ (Combustion) และความเกี่ยวข้องกับการสะสมของคราบไขมัน (Plaque build-up) อันเป็นปรากฏการณ์ (Phenomenon) ขาดเลือด (Ischemic) ในร่างกายของเรา เนื่องจากระดับออกซิเจนต่ำลงเพราะการสูบ (Smoke) กัญชา

แหล่งข้อมูล

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.